ประวัติศาสตร์ ของ Clostridium tetani

การอธิบายทางคลินิกเกี่ยวกับบาดทะยักที่เกี่ยวข้องกับแผลนั้นมีย้อนกลับไปอย่างน้อยถึง 400 ปีก่อนคริสตกาล ในงานเขียนของฮิปโปกราตีส ชื่อว่า อะโฟริสม์[8] การแสดงความสัมพันธ์กับดินแย่างขัดแจ้งครั้งแรกปรากฏในปี 1884 เมื่ออาร์เธอร์ นิโกแลร์ แสดงให้เห็นว่าสัตว์ที่ฉีดด้วยดินตัวอย่างสามารถเกิดบาดทะยัก[6] ในปี 1889 C. tetani ถูกแยกจากผู้ป่วยมนุษย์โดยคิตะซาโตะ ชิบะซะบึโร ผู้ซึ่งต่อมาแสดงให้เห็นว่าสิ่งมีชีวิตนี้สามารถก่อโรคเมื่อฉีดเข้าไปในสัตว์ และสารพิษนั้นสามารถถูกต้านทานได้ด้วยแอนทิบอดี เมื่อปี 1897 เอ็ดมอนด์ โนคาร์ด แสดงให้เห็นว่าแอนทิบอดีต้านบาดทะยัก (tetanus antitoxin) กระตุ้นภูมิคุ้มกันแบบรับมาในมนุษย์ และสามารถนำไปใช้เป็นโพรฟัยลักซิสและการรักษา[6] ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง การฉีดแอนทิเซรัมบาดทะยักที่ได้จากม้านั้นมีใช้ทั่วไปเป็นโพรฟัยแลกซิส ในทหารที่ได้แผล ส่งผลให้เกิดการลดลงของกรณีบาดทะยักตลอดสงคราม[9] วิธีสมัยใหม่ในการยับยั้งการออกฤทธิ์ของสารพิษบาดทะยักที่ใช้ฟอร์มาลดีไฮด์นั้นพัฒนาขึ้นโดยแกสตัน รามอน ในทศวรรษ 1920s สิ่งนี้ได้นำไปสู่การพัฒนาวัคซีนทอกซอยด์บาดทะยักโดยพี. เดสคอมบีย์ (P. Descombey) ในปี 1924 และถูกใช้อย่างกว้างขวางเพื่อป้องกันบาดทะยักอันเกิดจากบาดแผลระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง[6]

แหล่งที่มา

WikiPedia: Clostridium tetani //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/12552129 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/8609513 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1073859 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC298770 http://www.bacterio.net/clostridium.html#tetani http://textbookofbacteriology.net/clostridia_3.htm... http://www.nzor.org.nz/names/397f6cab-185d-4248-a5... //doi.org/10.1002%2F9781118960608.gbm00619 //doi.org/10.1016%2FB978-012595020-6%2F50003-6 //doi.org/10.1016%2FB978-1-4557-0090-5.00039-2